Climate Adaptation by Shma x Frasers Property
.
As a part of Bangkok Design Week 2021, Shma and Frasers Property have launched ‘Urban Sustainability Lab’ project, proposing creative prototypes to Bangkok city through the method of ‘Climate Adaptation.’ We foresee the idea as a solution in this uncertain era which enables citizens to live wisely and city to thrive resiliently though global warming situation.
Climate Adaptation เหตุผลและวิธีปรับเมืองเข้ากับภาวะโลกร้อน
.
.
อากาศกำลังเปลี่ยน ที่ไม่ได้หมายความถึงการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลธรรมดา แต่โลกและเมืองใหญ่ทั้งหลายกำลังเผชิญความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Climate Change) หรือที่เราเรียกกันอย่างลำลองว่า ‘โลกร้อน’ ซึ่งความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศนี้เป็นไปในทางเลวร้าย ส่งผลให้สมดุลของธรรมชาติ ของฤดูกาลเปลี่ยนแปลงไป และแน่นอนผลของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์เรา จากก๊าซเรือนกระจก จากคาร์บอนที่เราปล่อยขึ้นสู่บรรยากาศ
.
ความเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ใช่ความเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ แต่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์เรา โดยเฉพาะกิจกรรมของเมืองใหญ่ที่มีการปล่อยก๊าซและมลพิษอย่างหนาแน่น ในช่วงสิบปีที่ผ่านมานี้หลายเมืองใหญ่ก็ได้ตระหนักถึงผลจากความเปลี่ยนแปลงนี้ทั้งจากพายุเฮอริเคน ระดับน้ำทะเลที่ผันผวน คลื่นความร้อน การสูญเสียอื่นๆ บ้านเราแม้ว่าจะเจอผลที่รุนแรงอย่างเป็นรูปธรรม นักวิชาการเองก็เริ่มมองเห็นรูปแบบของฝนที่เปลี่ยนแปลงทำให้เราเจอปัญหาน้ำท่วมที่ยากจะรีบมือมากขึ้น ซึ่งพื้นที่เมืองเป็นพื้นที่ที่เปราะบางต่อความเปลี่ยนแปลงนี้ และนึกภาพว่าเมืองใหญ่เป็นเหมือนหัวของระบบเศรษฐกิจเมื่อเจอกับภัยธรรมชาติที่รุนแรงนั้นย่อมส่งเสียหายทั้งต่อผู้คนและต่อประเทศอย่างสำคัญ
.
ในปี 2014 มีรายงานของ CDP องค์กรเกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกับ Bloomberg ว่าด้วยผลกระทบของสิ่งแวดล้อมและการปรับตัวของเมืองใหญ่ พบว่า 76% ของเมืองใหญ่รายงานว่าความเปลี่ยนแปลงเชิงภูมิอากาศส่งผลกับธุรกิจในหลายภาคส่วน ทำให้ในช่วงปี 2014 เป็นต้นมามีเมืองใหญ่จำนวนมากรับเอาแนวคิดเรื่องการปรับเมืองให้เข้ากับสภาพอากาศ หรือ Adaptation โดยรวม ตั้งแต่การเปลี่ยนเมืองให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยคาร์บอนลง และในขณะเดียวก็เน้นการปรับเมืองให้มีความยืดหยุ่น ลงทุนกับสาธารณูปโภคและเปลี่ยนแปลงแนวนโยบายต่างๆ เพื่อให้เมืองเหล่านั้นทั้งลดความรุนแรงของภาวะโลกร้อน และอยู่รอดกับความเปลี่ยนแปลงได้ พร้อมๆ กับการสร้างคุณภาพชีวิตให้กับผู้คนไปในเวลาเดียวกัน
.
เหตุผลสำคัญที่เมืองใหญ่ๆ เริ่มหันมาทบทวนการพัฒนาและทิศทางของเมืองที่ต้องมีความยืดหยุ่น มีการปรับตัวมากขึ้น ก็ด้วยผลกระทบของเมืองนั้นส่งผลกับพื้นที่รอบๆ และสิ่งแวดล้อมโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญ เมืองมีขนาดใหญ่ มีความหนาแน่น หนึ่งในผลกระทบที่เป็นรูปธรรมคือภาวะเกาะความร้อนของเมือง (urban heat effect) ที่เมืองนั้นส่งผลกระทบต่ออุณหภูมิและการเคลื่อนไหวของลมตามธรรมชาติ
.
การปรับตัวของเมือง (Climate Adaptation) นั้นถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงกรอบความคิดที่ส่งผลกับการใช้ และปรับปรุงทั้งพื้นที่ทางกายภาพและวิถีชีวิตของผู้คนในเมือง หลักการสำคัญหนึ่งคือการประเมินความเสี่ยง และลักษณะเฉพาะของพื้นที่เมืองนั้นๆ ตามบริบทแล้วจึงค่อยๆ หาทางปรับเปลี่ยนเมืองเพื่อให้รับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ หลักการสำคัญของการปรับตัวคือการที่เมืองสามารถเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ สามารถรับแรงกระแทกจากความเปลี่ยนแปลงและฟื้นตัวขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เป็นหลักสำคัญ 3 ประการคือ expose, absorb และ recover
.
รอตเทอร์ดาม (Rotterdam) เป็นตัวอย่างหนึ่งของเมืองที่ยืดหยุ่นและปรับเมืองเข้าตามธรรมชาติ ตัวเมืองเข้าใจสภาพของพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ปากแม่น้ำ ตัวเมืองต้องเจอกับปัญหาเรื่องปริมาณน้ำทั้งจากแม่น้ำ น้ำฝน และน้ำทะเล ทำให้เมืองพัฒนาปรับเมืองให้ร่วมรับและชะลอน้ำในพื้นที่ต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชน ในทำนองเดียวกันที่จีนก็มีการพัฒนาแนวทางเมืองฟองน้ำ หรือ Sponge City ขึ้น มีการใช้สวนขนาดใหญ่เพื่อร่วมรับน้ำที่มากับมรสุมตามฤดูกาล
.
ประเด็นสำคัญหนึ่งของการปรับเมืองตามภูมิอากาศนั้น ไม่ใช่การปรับเข้าตามธรรมชาติ แต่คือการหาตรงกลางที่เป็นการปรับของเมืองที่ดีทั้งต่อธรรมชาติ และต่อผู้คนด้วย วิถีชีวิตและสาธารณูปโภคที่เริ่มมีความสำคัญมากขึ้นที่จะทำให้เมืองเย็นลง น้ำท่วมน้อยลง ผู้คนเจอกับมลภาวะต่างๆ น้อยลง ลดความตึงเครียดพร้อมทั้งเพิ่มคุณภาพชีวิต ทัศนียภาพและสุขภาพทั้งคนและเมืองไปในขณะเดียวกัน
.
ข้อสังเกตสำคัญของการปรับตัวนี้คือการบอกว่าวิกฤติกำลังมาแล้ว และการปรับตัวเป็นเรื่องของปัจจุบัน เมืองใหญ่ๆ เช่นลอนดอน นิวยอร์ก ไทเป เกาหลีใต้ล้วนตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลง และพากันปรับตัวเพื่อรับความเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ไม่ใช่เพื่ออื่นไกล แต่คือการปกป้องรักษาเมืองที่พวกเขารักเอาไว้ให้อยู่รอดต่อไปถึงคนรุ่นหลัง มีรายงานว่าเมืองอย่างน้อย 102 เมือง และเพิ่มจำนวนขึ้นถึงหลัก 200 กำลังรับเอาประเด็นความเปลี่ยนแปลงเชิงภูมิอากาศเข้าเป็นวาระและทิศทางของเมือง มีรายงานตัวเลขว่าในหลายเมืองสำคัญของโลก รายงานตัวเลขปริมาณคาร์บอนฟุตปริ้นต์ที่ลดลงอย่างภาคภูมิใจ
.
.
อ้างอิงข้อมูลจาก